J-doradic.com เว็บ ดิกไทย – ญี่ปุ่น ดิกญี่ปุ่น – ไทย ที่ดีที่สุด

เลือกหมวดหมู่
ความหมาย

จากหนังสือ ภาษาญี่ปุ่น 2 สนุก

 

แปลโดย ศ. ดร. ปรียา อิงคาภิรมย์

 

           สวัสดีค่ะแฟนเจโดะระมังงะทุกคน ที่ติดตามอ่านบทความจากหนังสือที่ดิฉันเขียน ถ้าเห็นอันไหนน่าสนใจ ก็จะนำมาโพสให้อ่าน จะได้ความรู้กันอย่างกว้างขวาง เพราะความรู้ไม่มีพรมแดน และเป็นของที่แบ่้งปันกันได้นะคะ

 

ใครที่สนใจอยากอ่านเรื่องอื่นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ภาษาญี่ปุ่น วัฒนธรรมญี่ปุ่น สังคมญี่ปุ่น นวนิยายญีุ่่ปุ่้น สุภาษิต อะนิเมะ ที่มีคุณค่าแก่การเรียนรู้ เช่น โทะโทะโระ เรียนคันจิให้สนุกยังไง เรื่องเกี่ยวกับอาหาร วรรณกรรมญี่ปุ่นที่หาอ่านได้ยาก หรืออยากเขียนถามคำถาม ข้อสงสัยอะไรเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นก็ได้นะคะ ไม่ต้องเกรงใจ เชิญเข้าไปถามได้ตามสบายนะคะ ความรู้ไม่มีพรมแดน ไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก ไม่ต้องเกรงใจ เชิญตามสบายค่ะ

 

       วันนี้เอาเรื่องที่น่าสนใจให้ความรู้เกี่ยวกับคนญี่ปุ่นอย่างมากใน ภาษาญี่ปุ่น 2 สนุก มาให้อ่านกัน เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้ที่คำยกย่อง ถ่อมตัว ที่เรามักจะเข้าใจผิด เพราะติดนิสัย ชอบเรียนแบบท่องจำว่า คำนั้นๆเป็น คำยกย่อง คำสุภาพ และคำถ่อมตัว อย่างเดียว แต่พอเอาเข้าจริงๆเอาไปใช้ไม่ได้ เพราะความเข้าใจจากการท่องจำว่าคำไหนเป็นคำอะไรนั้น ไม่อาจช่วยให้เรานำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

       วันนี้ขอเอาคำถามที่เด็กวัดในโรงเรียนเด็กวัดปรียา ที่โพสตอบไปใ้ห้พวกเราได้อ่านกัน คนที่ทำงานกับคนญี่ปุ่น หรือคนที่เรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่จะได้นำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน จากเรื่องในหนังสือยอดนิยม ชุดภาษาญี่ปุ่น สนุก ซึ่งมีทั้งหมดสิบเล่ม ตอนนี้พิมพ์ใหม่ออกมาได้ 6 เล่มแล้ว

          ตามที่ทุกคนรู้กันดีว่า หนังสือชุดนี้เป็นชุดที่ได้รับรางวัลทางด้าน สิ่งตีพิมพ์ทางด้านวัฒนธรรมนานาชาติของญี่ปู่น แม้เวลาจะผ่านไปสามสิบกว่าปีแล้ว แต่ก็ยังไม่มีหนังสือเล่มไหนที่มีคุณภาพและเนื้อหาเทียมเท่า หรือดีเท่ากับหนังสือชุดนี้ จึงไม่แปลกใจว่า ทุกคนที่เรียนภาษาญี่ปุ่นจะต้องหาซื้อหนังสือชุดนี้ไปใช้ เป็นคู่มือ หรือเพื่อนคู่ยาก จะได้เรียนภาษาญี่ปุ่นได้อย่างเข้าใจ ถ่องแท้่ และสนุกเพลิดเพลินกับ การปล่อยไก่ของคุณเลอร์นเนอร์ในเรื่อง ซึ่งก็คือพวกเราชาวต่างชาติที่เรียนภาษาญี่ปุ่นนั่นเอง

 

       ดิฉันจะเอาเฉพาะบางส่วนในเรื่องนี้ิ มาโพสให้แฟนๆเจโดะระมังงะได้อ่านกัน จะได้เรียนรู้และสนุกด้วยกัน ใครที่สนใจและอยากอ่านรายละเอียดของเนื้อเรื่องนี้ ตลอดจนเนื้อหาในเล่มต่างๆในชุดนี้ คงต้องรบกวนไปหาซื้อกันเอง ก่อนที่จะหมดเพราะพิมพ์จำกัด ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนยังติดใจหนังสือชุดนี้ และมีคนหาซื้อกันมาก ก็เลยอยากแสดงความขอบคุณในกำลังใจที่ให้แก่ดิฉันผู้แปลและพยายามพิมพ์ออกมาให้พวกเราได้ใช้อีกครั้ง จึงต้องเอามาเขียนให้อ่าน จะได้หายสงสัยว่าทำไมคงจึงหาซื้อชุดนี้กันมาก

 

         ใครที่สนใจ อยากอ่านเรื่องอื่นๆในชุดนี้ เชิญแวะเข้าไปหาความรู้ได้ที่โรงเรียนเด็กวัดปรียาได้ตามสบายค่ะ เพราะตอนนี้ก็มีแฟนๆจาก เจโดะระมังงะ เข้ามาแสวงหาความรู้เยอะทีเดียวฃดีใจที่ทุกคนขวนขวายหาความรู้ สนใจเชิญแวะได้ที่http://preeya.japankiku.com/index.php

 

   

(เนื้อเรื่องย่อในเรื่อง)

      

      เมื่อบ่ายวานนี้ คุณวินเทอร์โทรไปหาคุณเลอร์เนอร์ที่ทำงาน เพราะอยากคุยธุระกับคุณเลอร์นเนอร์ คุณวินเทอร์ถามว่าคุณเลอร์นเนอร์อยู่มั้ย คุณโยะชิดะเป็นคนรับสาย เธอตอบคุณวินเทอร์ว่า

 

     

         Ee, irasshai masu yo

          ええ、いらっしゃいますよ

 

       ค่ะ คุณเลอร์นเนอร์อยู่ที่ทำงานจ้ะ อะไรทำนองนั้น

  หรือ

        ค่ะ คุณเลอร์นเนอร์อยู่ที่ทำงาน รอเดี๋ยวนะคะ

 

         เมื่อคุณเลอร์นเนอร์พูดสายเสร็จ และวางหูลง เสียงโทรศัพท์ดังขึ้ันอีก คุณโยะชิดะรับสาย คราวนี้มีคนโทรไปหาเจ้านายคุณโยะชิดะ เธอตอบว่า

        

           Shachoo wa ima ori masen ga…

          社長はいまおりません

          ตอนนี้หัวหน้า(ประธานบริษัท) ไม่อยู่ค่ะ

 

คุณเลอร์นเนอร์เรียนมาว่า

 

  1. คำว่า irasshai masu いらっしゃいます ใช้กับคนที่เรายกย่อง
  2. คำว่า ori masu おりますใช้เมื่อกล่าวถึงอีกฝ่ายอย่างอ่อนน้อม

       คุณเลอร์นเนอร์อดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมคุณโยะชิดะจึงใช้คำยกย่องกับคุณเลอร์นเนอร์ และใช้คำถ่อมตัว เมื่อคนโทรไปหาประธานบริษัท ….. (ขอละไม่เขียนรายละเอียดเนื้อหาในเรื่อง) เป็นเพราะเห็นเขาเป็นต่างชาิติหรือจึงใช้คำยกย่องเมื่อพูดถึงเขา

   

-----------------------   

คำถามจากเด็กวัดโรงเรียนเด็กวัดปรียา

 

(เด็กวัด jibbo)   ประโยคที่ว่า ええ。ラーナーさんいらっしゃいますよ。ในกรณีเดียวกันถ้าจะพูดว่า ええ。ラーナーさんいます。แทนได้หรือเปล่าคะ เพราะเท่าที่อ่านในหนังสือได้ความว่าสัมพันธ์ระหว่าง คนที่โทรมาหาคุณเลอร์นเนอร์ และคนที่รับ โทรศัพท์ และ คุณเลอร์นเนอร์ เป็นคนที่รู้จักกัน... ก็เลยมีความสงสัยว่าถ้าใช้ประโยค ええ、ラーナーさんいます。จะได้หรือไม่คะ..

----------------------------

(คลินิค ไขข้อสงสัยภาษาญี่ปุ่น)  เป็นข้อคิดเห็นที่ดีมาก ที่จริงคุณโยะชิดะควรจะใช้แบบที่คุณเลอร์นเนอร์คิด แต่ก็แปลกที่ว่า ถ้าใช้ว่า  ええ、ラーナーさんいますจะเป็นคำตอบรับที่สุภาพ แต่ไม่ได้สื่ออารมณ์ความรู้สึกให้คุณวินเทอร์รู้ว่า ตัวคนรับสายหรือคุณโยะชิดะเป็นเพื่อนร่วมงานและรู้จักส่วนตัวกับคุณเลอร์นเนอร์ คือ ถ้าตอบว่า ee raanaa san  imasu.  ええ、ラーナーさんいます ให้ความรู้สึกเหมือนกับว่่่าเธอ ตอบตามหน้าที่ว่า อยู่ที่ทำงาน ซึ่งก็คงไม่ผิด แต่ไม่ตรงจุดประสงค์ของการสื่อความหมาย ที่คุณโยะชิดะต้องการสื่อกับคุณวินเทอร์ความรู้สึกที่คุณโยะชิดะใช้กับคุณเลอร์นเนอร์ ด้วยการใช้คำว่า いらっしいますよ。ซึ่งเป็นสำนวนยกย่อง ซึ่งเราอาจจะเข้าใจผิดคิดว่า

    1. ใช้ไม่ได้แบบที่คุณเลอร์นเนอร์คิดว่า คงเป็น เพราะคุณเลอร์นเนอร์ เป็นต่างชาิติ ก็เลยไม่ยอมรับแกเข้ากลุ่มด้วยการใช้คำยกย่องด้วย

     2. คนที่เรียนและเข้าใจภาษาญี่ปุ่นยังไม่ลึกซึ้ง และเรียนตามกฏ

ไวยากรณ์ จะเข้าใจแบบที่คุณเลอร์นเนอร์สงสัยก็ได้ แต่ไม่ใช่ความ

เข้าใจที่ถูกต้อง เพราะถ้าเราดูสำนวนที่ คุณโยะชิดะใช้จะมีคำลงท้ายด้วย ซึ่งเพียงแค่คำ  ที่ท้ายประโยค ทำให้อีกฝ่ายทราบความสัมพันธ์ของทั้งสองคนได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

     แต่ถ้ามีคนโทรไปหาเจ้านาย แม้ผู้รับจะอยู่บริษัทเดียวกัน และทำงานด้วยกันเป็นสิบๆปีก็ตาม หรือใครๆก็รู้ว่า สนิทและเข้ากับเจ้านายได้ดียังไง

ก็ตาม เมื่อคนภายนอกโทรมาหาเจ้านาย ผู้รับจะใช้คำพูดที่แสดงวิสาสะให้คนภายนอกรู้ว่า ผมรู้จักเจ้านายดี เพราะทำกันมานาน หรือ จะแสดงการยกย่องด้วยการใช้คำยกย่องว่า いらっしいます。ไม่ได้เด็ดขาด ถือว่าใช้คำพูดไม่ถูกกับสถานการณ์ และความสัมพันธ์ของคนที่โทรมาหาเจ้านาย  ถือว่าเสียมารยาท วิธีการพูดที่ถูกต้องคือ ผู้รับสายจะต้องกล่าวอย่างถ่อมตัวเองเกี่ยวกับเจ้านาย โดยใช้คำถ่อมตัว ว่าไม่อยู่ orima sen おりません ไม่อยู่ค่ะเพราะถือว่าเจ้านาย และตัวคนที่รับสายเป็นสมาิชิกที่ทำงานในบริษัทเดียวกัน

 

      ในขณะที่สังคมไทย ถ้า่คนโทรมาหาคุณแม่ ถามว่า คุณแม่อยู่ไหมคะ เราก็จะต้องพูดตอบอย่างสุภาพและแสดงเคารพคุณแม่ว่า คุณแม่อยู่ในครัว รอเดี๋ยวนะคะ  ไม่ถือว่าผิด หรือถือว่าเสียมารยาท นอกจากนั้น การพูดแบบที่ว่านี้ยังเป็นการแสดงความเคารพรักคุณแม่อีกด้วย

 

       การเรียนภาษาญี่ปุ่น คนที่จะพูดและเข้าใจภาษาญี่ปุ่นได้เก่งจริงๆ ต้องใช้เวลานานมากกว่า จะพอมองเห็นจุดพวกนี้ นี่เป็นเพียงกรณีง่ายๆเท่านั้น ที่จริงๆซับซ้อนกว่านี้มาก เราจึงเรียนภาษาต่างประเทศด้วยการท่องจำไม่ได้ เป็นการเรียนที่ผิดวิธี