J-doradic.com เว็บ ดิกไทย – ญี่ปุ่น ดิกญี่ปุ่น – ไทย ที่ดีที่สุด

เลือกหมวดหมู่
ความหมาย
ใครที่เคยไป ร้านสรรพสินค้า มิทซึโคะชิ
จะเห็นว่าพื้นในร้าน ぴかぴか
 ภาษาญี่ปุ่น 7 สนุก
ศ. ดร. ปรียา อิงคาภิรมย์       แปล 
 
           สวัสดีค่ะแฟนเจโดะระมังงะทุกคน ที่ติดตามอ่านบทความจากหนังสือที่ดิฉันเขียน ถ้าดิฉันเห็นอันไหนน่าสนใจก็จะนำมาโพสให้อ่าน จะได้ความรู้กันอย่างกว้างขวางเพราะความรู้ไม่มีพรมแดน และเป็นของที่แบ่้งปันกันได้นะคะ
 
          ใครที่สนใจอยากอ่านเรื่องอื่นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ภาษาญี่ปุ่น วัฒนธรรมญี่ปุ่น สังคมญี่ปุ่น นวนิยายญีุ่่ปุ่้น วรรณกรรมญี่ปุ่นที่หาอ่านได้ยาก ตลอดจน ตำนานอาหารญี่ปุ่น หรืออยากเขียนถามคำถาม ข้อสงสัยอะไรก็ได้นะคะ ไม่ต้องเกรงใจ เชิญเข้าไปถามได้ตามสบายนะคะ ความรู้ไม่มีพรมแดน ไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกค่ะ
 
          วันนี้เอาเรื่องที่อ่านที่น่าสนใจใน ภาษาญี่ปุ่น 7 สนุก เกี่ยวกับคำเลียนเสียงในภาษาญี่ปุ่นぴかぴか、ぴかり ปิคะ ปิคะ และปิคะริ มาให้เรียนและอ่านกันสนุกๆ เพราะว่า พอดีมีเด็กวัดในโรงเรียนเด็กวัดปรียา บ่นมาว่า งุนงง กับความหมายของคำเลียนเสียงหลายตัวก็เลยเขียนมาโพสให้แฟนๆเจโดะระมังงะอ่านกัน จะได้เรียนรู้และสนุกด้วยกันนะคะ
 
           ใครที่สนใจ เชิญแวะชมโรงเรียนเด็กวัดปรียาได้ที่ http://japaneseisfun.com/bbs/index.php
          
          ดิฉันเพิ่งได้รับแจ้งจากทางกรุงเทพฯว่า หนังสือ ภาษาญี่ปุ่น7 สนุก เข้าซีเอ็ดเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2009จึงรีบแจ้งให้แฟนๆหนังสือและแฟนๆเจโดระมังงะที่รอคอยหนังสือชุดนี้อยู่ จะได้ไปจัดการหาซื้อได้ เพราะเพิ่งจะเสร็จสดๆร้อน หลังจากร้องเพลงรอมานานพอสมควร L
        
        ในหนังสือ ภาษาญี่ปุ่น7 สนุก เล่มนี้ มีเรื่องที่น่าสนใจหลายเรื่องเกี่ยวกับ สกรรมและอกรรมกริย สำนวนภาิษาพูดที่ไม่เหมือนในตำรา สำนวนต่างๆที่คนเรียนใช้กันผิดๆถูกๆ และสับสนจากที่เรียนในตำราเรียน ซึ่งแฟนๆหนังสือและคนทีี่เรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่คงจะได้รับความรู้อย่างมากจากเนื้อหาในเล่มนี้
  
        แน่นอน พูดถึงเนื้อหาก็ยิ่งเข้มข้น และซับซ้อนมีลูกเล่นมากขึ้น เพราะว่าเป็นเล่มที่ 7 แล้ว จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่เรียนอยากรู้จริงๆ และอยากเตรียมตัวสอบวัดระดับ ในแง่มุมต่างๆที่ไม่มีเขียนในตำราเรียน อ่านแล้ว เข้าใจยาก หรือสงสัยเข้่ไปถามได้ในโรงเรียนเด็กวัดปรียานะคะ  ไม่ต้องเกรงใจ
-------------
เนื้อหาของเรื่อง ขอตัดเพียงแค่ส่วนเดียว
        
         เมื่อบ่ายวานนี้ในขณะที่คุณเลอร์นเนอร์และคุณโยะชิดะกำลังอยู่ในร้านกาแฟอยู่ดีๆฝนก็เริ่ม
ตก และมีเสียงฟ้าร้อง หลังจากนั้นก็มีแสงแว๊บวับ คุณโยะชิดะร้องออกมาว่า
 
          あ、ぴかっと光った
          อะ ปิคัตโตะฮิคัตตะ วะ
          ว๊าย! มีแสงแว๊บออกมา
 
       โดยที่เธอต้องการที่จะอธิบายถึงแสงของฟ้าแลบ คุณเลอร์นเนอร์เคยได้ยินมาว่าคำว่า ぴかぴかปิคะ ปิคะ ใช้อธิบายถึงสิ่งบางอย่างที่มีแสงแว๊บวับ แต่ไม่เคยได้ยินคำว่า ぴかっとปิคัตโตะ มาก่อน สองคำนี้ต่างกันยังไง
********************
 
          เพียงแค่อ่านประโยคนี้ อาจารย์เองก็ยังอดสงสัยไม่ได้ว่า ถ้านักเรียนที่เรียนอย่างจริงจัง เพียงแค่ผ่านสายตาประโยคนี้ ก็คงต้องอยากวิ่งมาถามอาจารย์เช่นเดียวกับที่คุณเลอร์นเนอร์สงสัยที่ว่า
 
            1. ぴかぴかปิคะ ปิคะ และคำว่า ぴかっとปิคัตโตะ ต่างกันยังไง
 
2.      ทำไมประโยคนี้ คุณโยะชิดะ ต้องใช้ คำว่าあ、…..ที่ท้ายประโยคด้วย
 
พอดีมีเด็กวัดป๊อปในโรงเรียนเด็กวัดปรียา เขียนมาถามว่า ทำไมผู้หญิงต้องใช้คำว่า ขั้นไว้ตรงกลาง เช่น あしたいくよ。
 
3.      จะใช้ว่า あしたいくโดยวางไว้ท้ายประโยค โดยไม่ต้องใช้ขั้นไว้ตรงกลางตามที่เด็กวัดสงสัยจะด้ไหม
 
4.      แค่นั้นไม่พอ ยังสงสัยต่อไปว่า จะใช้ประโยคว่า  
                 あ、光った
                 อะฮิคัตตะ วะ
         
               จะได้ไหม
 
          ขอให้ทุกคนที่สนใจ ลองไปอ่านและปะติดปะต่อหาคำตอบของคำถามที่เด็กวัดแต่ละคนถามมานะคะ
 
          ในหนังสือภาษาญี่ปุ่น7 สนุก ยังกล่าวละเอียดถึง วิธีการใช้ คำเลียนเสียง เพราะมีเด็กวัดNan chan ในโรงเรียนเด็กวัดปรียาถามมาว่าความหมายของคำเลียนเสียงสร้างความงุนงงพอสมควร ก็เลยไปหามาให้ทุกคนได้อ่าน และช่วยกันไปทำการบ้านเพิ่มเติม จะได้เสริมพื้นให้แน่นๆ
 
         วันนี้ เอาแค่นี้ก่อนนะคะ
 
          では、また。