J-doradic.com เว็บ ดิกไทย – ญี่ปุ่น ดิกญี่ปุ่น – ไทย ที่ดีที่สุด

เลือกหมวดหมู่
ความหมาย
จากหนังสือ ไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น
 
 
 
          
           สวัสดีค่ะแฟนเจโดะระมังงะทุกคน ที่ติดตามอ่านบทความจากหนังสือที่ดิฉันเขียน ถ้าดิฉันเห็นอันไหนน่าสนใจก็จะนำมาโพสให้อ่าน จะได้ความรู้กันอย่างกว้างขวางเพราะความรู้ไม่มีพรมแดน และเป็นของที่แบ่งปันกันได้
 
  ใครที่สนใจอยากอ่านเรื่องอื่นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ภาษาญี่ปุ่น วัฒน
ธรรมญี่ปุ่น หรือสังคมญี่ปุ่น นิยายญี่ปุ่น เรื่องเกี่ยวกับอาหาร วรรณกรรมญี่ปุ่นที่หาอ่านได้ยาก หรืออยากเขียนถามคำถาม ข้อสงสัยอะไรก็ได้นะคะ ไม่ต้องเกรงใจ เชิญเข้าไปถามได้ตามสบายนะคะ ความรู้ไม่มีพรมแดน ไม่มีการแบ่งพวกแบ่งพรรคค่ะ
  
  ต้องขอโทษใครที่มีความคิดเห็นเขียนทิ้งไว้ ขอขอบคุณทุกคนนะคะ แต่เข้ามาตอบคำถามไม่ได้ เพราะปัญหาอะไรยังแก้ไม่ได้ เข้าไปถามในโรงเรียนเด็กวัดปรียาก็ได้  ใครที่สนใจ เชิญแวะชมโรงเรียนเด็กวัดปรียาได้ที่http://japaneseisfun.com/bbs/index.php
 
           วันนี้อยากจะเขียนเรื่อง อกรรมกริยา/สกรรมกริยา ภาษาญี่ปุ่นที่สร้างความสับสน ปวดหัวให้คนเรียน ใครที่อยากรู้ว่ามีคำกริยาอะไรบ้าง ขอให้ไปอ่านในหนังสือ ไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น
          สำหรับนักเรียน นักศึกษาไทยที่จะเรียนต่อทางด้านอักษรศาสตร์ เอก ภาษาไทย ขอให้ไปหาอ่านเรื่องราวที่อาจารย์และเพื่อนร่วมงานเก่า ช่วยกันเขียนได้ในหนังสือ 
.
‘A Reference Grammar of Thai’

. 
เรียน อกรรม/สกรรมกริยา จากคำว่า สะดือ へそ

พิมพ์โดย Cambridge University Press

.
            สรุป สำหรับนักเรียน และนักศึกษาไทย ที่อยากทำความเข้าใจไวยากรณ์ไทย ไม่ต้องขวัญเสีย ไม่ว่าใครถ้าเป็นเจ้าของภาษานั้นๆไม่ค่อยจะรู้เรื่องไวยากรณ์ของตัวเอง เพราะเกิดมาก็ถูกคอมพิวฯเข้าหัวเราโดยธรร ชาติ แล้วก็พูดภาษาไทย พูดภาษาอังกฤษได้ แล้วแต่ว่าคนนั้นเกิดที่ประเทศไหน
 
          เรื่องอะไรที่ยาก และส่วนใหญ่ครูที่สอนจะบอกให้ท่องจำ ไม่อยากเอามาสอน เพราะน่าเบื่อ และไม่สนุก แต่อยากหาทางทำให้เราจำได้ง่ายๆ แล้วเก็บตกสิ่งที่จำได้ไปใช้ดีกว่า แถมไม่ลืมด้วย
 
        วันนี้ ก็เลยไปเอาสำนวนขำขัน เกี่ยวกับ ‘สะดือ’ ที่คนญี่ปุ่นใช้กันในภาษาญี่ปุ่นมาให้เรียน
       
       วันนี้จะขอเอาสำนวน และสุภาษิตในภาษาญี่ปุ่นที่เกี่ยวกับ คำอกรรมกริยา/สกรรมกริยา เพราะคนญี่ปุ่นใช้สำนวนที่ว่านี้บ่อย จนกลายเป็นสุภาษิตที่ใครๆก็รู้กัน

กรรมกริยา jidooshi 動詞
กรรมกริยา tadooshi 動詞
ข้อสงสัย: กรรมกริยา คืออะไร ปวดหัวจัง ขอยาแก้ปวดหัวหน่อย
 
(ตอบข้อสงสัยให้หายปวดหัว)
+กรรม+กริยา
ไม่มี+ผู้ถูกกระทำ+แสดงอาการ
 
*หน้า 154-60 (ไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น)
 
เช่น   -aru เปลี่ยนเสียงเป็น
      shimaru  ปิด
      magaru  โค้ง
ข้อสงสัย: กรรมกริยา คืออะไร ปวดหัวจัง ขอยาแก้ปวดหัวหน่อย
 
 (ตอบข้อสงสัยให้หายปวดหัว)
+กรรม+กริยา
มี+ผู้ถูกกระทำ+แสดงอาการ
 
*หน้า 154-60 (ไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น)
 
เช่น    - eru
        shimeru  (ทำให้) ปิด
         mageru (ทำให้) โค้ง
 
ทำไมสับสนจัง:
ก็เพราะว่า ในภาษาญี่ปุ่น
1.      คำกริยาบางคำ ใช้ได้ทั้งสกรรมและอกรรมกริยา
2.      คำกริยาบางคำ มีแต่คำอกรรมกริยา
3.      คำกริยาบางคำ มีแต่คำสกรรมกริยา
4.      คำกริยาบางคำ แปลออกมาแล้ว ไม่ใช่คำกริยาในภาษาไทย
ทำไมสับสนจัง:
ก็เพราะว่า ในภาษาไทย
  1. คำสกรรมกริยา ไม่เหมือนกับที่
ใช้ในภาษาญี่ปุ่น และภาษาอังกฤษ
  1. คำกริยาบางคำเห็นได้ชัดว่าเป็นสกรรมกริยา เช่น พี่เตะน้อง คือมีกรรมมารับอย่างชัดเจน
คำกริยาบางคำ เห็นกรรมไม่ชัด คือไม่ได้แยกชัดว่าอาการนั้นๆมีประธานเป็นคนทำเหมือนในภาษาญี่ปุ่น เพราะละในฐานเข้าใจได้เช่น ประตูปิด และ ปิดประตู
 
จำยังไงไม่สับสนในภาษาญี่ปุ่น
 
  1. จัดระบบคำกริยาที่ใช้ได้ทั้ง อกรรมกริยา/ สกรรมกริยา ที่มีให้ในหนังสือ
‘ไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น’ว่าเสียงเปลี่ยนจากอะไรเป็นอะไร
  1. ทำความเข้าใจว่า คำกริยานั้นๆ เมื่อเข้าประโยคใช้ยังไง
 
จำยังไงไม่สับสนในภาษาไทย
 
1. จำ อกรรมกริยา/ สกรรมกริยาที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่น แล้วเทียบกับภาษาไทย ว่าต่างกันตรงไหน จะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น
 
2. อย่าพยายามแปลความหมายในภาษาไทย จากคำโดดๆ เช่น ปิด/(ทำให้)ปิด
 
   เพราะเรามักจะเปลี่ยนตำแหน่งของคำมากกว่า ที่จะเปลี่ยนเสียงของคำแบบในภาษาญี่ปุ่น เช่น ไฟดับ/ ฉันดับ
 
ไฟ
 

สำนวนคำอกรรมกริยาในภาษาญี่ปุ่น เช่น
 
ความหมายของสำนวน
 heso magari へそ曲แปลความหมายตามตัวอักษรก็คือ สะดือโค้ง งอ คดเคี้ยว หรือ เบี้ยว
 
 
ใช้ในความหมายที่ว่า คนๆนั้นมีนิสัยไม่ตรงไปตรงมา ไม่ซื่อตรง นิสัย ดื้อรั้น/หัวดื้อ ผิดปกติ พิเรน ไม่เหมือนชาวบ้าน ใช้ได้ในสถานการณ์ต่างๆ แล้วแต่เนื้อหา
 
แถมผู้พูดใช้สำนวนนี้กับตัวเองได้ เช่น คนที่ไม่ชอบทำอะไรเหมือนชาวบ้าน เช่น คนอื่นเห่อเรียนภาษาอังกฤษ แต่ตัวเองเลือกเรียนภาษาไทย พอคนถามก็จะบอกว่า heso magari へそ曲 です。ผมสะดือโค้ง หรือเบี้ยวครับ’ คือ ชอบทำอะไรที่ไม่เหมือนชาวบ้าน เป็นต้น
 
ตัวอย่าง เช่น
Aitsu itsumo heso magari na koto o iu
あいつ、いつもへそ曲りなことをいう!
ไอ้หมอนั่น พูดเอาแต่ใจตัวเอง (หัวดื้อ หัวรั้น)
ไอ้หมอนั่นพูดอะไรไม่เหมือนชาวบ้าน (ผ่าเหล่าผ่ากอ)
 
สุภาษิต/สำนวนคำสกรรมกริยาในภาษาญี่ปุ่นเช่น
 
ความหมายของสำนวน
 heso o mageru へそを曲แปลความหมายตามตัวอักษรก็คือ (ทำสะดือให้โค้ง งอ คดเคี้ยว หรือ เบี้ยว
 
 
ใช้ในความหมายที่ว่า คนๆนั้นมีอารมณ์บูด หรืออารมณ์เสีย หรือ
 ขี้โมโห เป็นต้น
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ตัวอย่าง เช่น
kare wa sugu heso o mageru!
 彼はすぐへそを曲
เขาขี้โมโห หรือ อารมณ์/เสียง่าย (มีอะไรหน่อยก็จะเกิดอาการ ทำสะดือตัวเองให้โค้ง J)

เรียนอกรรม/สกรรมกริยาด้วย เรื่องของสะดือ รู้สึกเป็นยังไงบ้างคะ