J-doradic.com เว็บ ดิกไทย – ญี่ปุ่น ดิกญี่ปุ่น – ไทย ที่ดีที่สุด

เลือกหมวดหมู่
ความหมาย

ป้ายแบบนี้จะพบเห็นได้ทั่วๆ ไป ในประเทศญี่ปุ่น สัญลักษณ์ที่เป็นเส้นตรงแนวนอนสองเส้น ต่อกับเส้นตรงแนวตั้งนี้ () เป็นสัญลักษณ์ของไปรษณีย์ ซึ่งเรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า ยูบิง (郵便)

ส่วนที่มาของสัญลักษณ์ว่ากันว่า เดิม(ในสมัยเมจิ ประมาณรัชกาลที่ 5) หน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นไปรษณีย์มีชื่อว่า เทชินโช ( 逓信省 ) ก็เลยนำตัวคะตะคะนะที่อ่านว่า เทะ ( ) มาดัดแปลงเป็นสัญลักษณ์ แล้วก็ใช้มาจนถึงทุกวันนี้ นอกจากจะเห็นป้ายนี้ติดอยู่ตามที่ทำการไปรษณีย์แล้ว สัญลักษณ์ ยังใช้เวลาเขียนบอกรหัสไปรษณีย์เวลาเขียนที่อยู่ด้วย

พูดถึงที่อยู่แล้วทำให้นึกถึงลักษณะของภาษาญี่ปุ่นอย่างหนึ่งที่แตกต่างจากภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ ที่ เวลาเขียนที่อยู่ จะเริ่มจากเล็กไปใหญ่ คือ เริ่มจากบ้านเลขที่ ตำบล อำเภอ จังหวัด แต่ญี่ปุ่นจะเริ่มจากใหญ่ไปเล็ก เช่นที่อยู่ของมหาวิทยาลัยของผมจะเขียนว่า 〒152-8552 โตเกียว-โตะ เมกุโระ-ขุ โอโอะคะยะมะ 2-12-1 คำที่ทำเป็นตัวหนาไว้ คือ คำที่บอกลักษณะของเขต

      
      都  
โตะ   แปลตามตัวว่า มหานคร หรือ เมืองหลวง คำนี้ใช้กับโตเกียวที่เป็นเมืองหลวงเท่านั้น
        
      県   เคง   ถ้าเป็นจังหวัดทั่วๆ ไป จะใช้ว่าเคง เช่น จังหวัดคะนะกะวะ ก็จะเรียกว่า คะนะกะวะเคง

 แต่อย่างไรมียกเว้นอยู่สามจังหวัด คือ
 

       府      ฝุ      จังหวัดโอซะกะ กับ จังหวัดเกียวโตะ จะใช้ว่า ฝุ() เป็น โอซะกะฝุ กับ เกียวโตะฝุ ที่ใช้ว่า ฝุ แทน เคง ก็เพราะฝุนั้นมีความหมายว่า เมืองหลวง หรือศูนย์กลาง และโอซะกะกับเกียวโตะก็เคยเป็นเมืองหลวงมาก่อนที่จะย้ายมาที่โตเกียว จึงใช้ฝุกับสองจังหวัดนี้   เดิมโตเกียวเคยใช้ว่า โตเกียวฝุ แต่พอมีการเปลี่ยนแปลงวิธีบริหารราชการใหม่ ก็เลยเรียกเป็นโตเกียวโตะ แทน คงคล้ายๆ กับกรุงเทพมหานครแหละครับ 
 
         
       โด      ใช้เฉพาะฮอกไกโด เกาะเหนือสุดของญี่ปุ่น 


จังหวัดทั้งหมดจะเรียกรวมกันว่า โตะโดฝุเคง ( 都道府県 ) โดยญี่ปุ่นจะแบ่งการปกครองออกเป็น 47 จังหวัด ในแต่ละจังหวัดก็จะประกอบด้วยหน่วยการปกครองที่เรียกได้หลายชื่อ เช่น ชิ () ซอน () โช () หรือ ขุ( ) โดยพิจารณาขนาดของพื้นที่ หรือจำนวนประชากรซึ่งจะไม่เหมือนบ้านเราที่จังหวัดจะต้องแบ่งออกอำเภอ และอำเภอแบ่งออกเป็นตำบลเท่านั้น ดังนั้นคำว่า ขุ ที่ทำตัวหนาไว้ก็จะแปลว่า เขต เหมือนเขตในกรุงเทพฯ นั่นแหละครับ 


นอกจากเรื่องการแบ่งเขตการปกครองแล้ว รหัสไปรษณีย์ของญี่ปุ่นก็น่าสนใจมากครับ เคยมีเพื่อนผมคนหนึ่งตั้งข้อสังเกตไว้ว่าประเทศญี่ปุ่นมีเนื้อที่เล็กมาก (เล็กกว่าประเทศไทยอีก) แต่ใช้รหัสไปรษณีย์ตั้งเจ็ดหลักตามข้างบน ทำให้รหัสตัวหนึ่งครอบคลุมพื้นที่เล็กมาก เรียกได้ว่ารหัสหนึ่งจะครอบคลุมเนื้อที่ไม่ถึงหนึ่งตำบล ทำให้สามารถคัดแยกและส่งจดหมายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีบริการที่น่าสนใจคือบริษัทเอกชนต่างๆ สามารถขอรหัสไปรษณีย์พิเศษของตัวเองได้ด้วย อย่างมหาวิทยาลัยของผมก็มีรหัสไปรษณีย์อยู่ 3 รหัส ทำให้สามารถส่งจดหมายไปยังหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยได้แน่นอน และรวดเร็วขึ้น นับเป็นความทันสมัยของระบบไปรษณีย์ญี่ปุ่น


นอกเรื่องไปเยอะแล้ว กลับมาต่อเรื่องไปรษณีย์กันดีกว่า หลังจากทราบกันแล้วว่าไปรษณีย์เรียกกันว่ายูบิง ยังมีคำอื่นๆ ที่เกี่ยวกับไปรษณีย์อีกหลายคำ เช่น 

       
      郵便局
    ยูบิงเคียวขุ แปลว่าที่ทำการไปรษณีย์ 

           局         ตัวอักษร 局 นี้แปลว่าที่ทำการ ห้าง ร้านต่างๆ เช่น 

           薬局         ยะขุเคียวขุ แปลว่า ร้านขายยา (   แปลว่า ยา ) 



          ที่ทำการไปรษณีย์ในญี่ปุ่นก็เหมือนที่เมืองไทยแหละครับ คือ จัดการส่งจดหมาย ไปรษณียบัตร และพัสดุต่างๆ แต่ส่วนหนึ่งที่แตกต่างจากไปรษณีย์ไทยก็คือที่ทำการไปรษณีย์ญี่ปุ่นทำหน้าที่เป็นธนาคาร รับฝากเงินจากชาวบ้านด้วย ฉะนั้นที่ทำการจึงแบ่งเป็นสองส่วนออกจากกัน คือส่วนรับส่งจดหมายและพัสดุ กับส่วนที่รับฝากเงิน ซึ่งชาวบ้านก็นิยมนำเงินมาฝากเนื่องจากไปรษณีย์เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงค่อนข้างมั่นคง ไม่ล้มไปง่ายๆ เหมือนธนาคารพาณิชย์ คนจึงนิยมนำเงินมาฝากประจำแม้ว่าจะได้ดอกเบี้ยน้อยกว่าธนาคารไปสักหน่อย 

แต่อย่างไรก็ดีรัฐบาลญี่ปุ่นกำลังมีแผนที่จะแปรรูปไปรษณีย์ไปเป็นบริษัทเพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน จะได้ไม่ต้องพึ่งพางบประมาณจากภาครัฐมากนั้น เพราะอย่างการรถไฟของญี่ปุ่น เดิมเป็นของรัฐก็เห็นว่าขาดทุนตลอดไม่เคยทำกำไรให้เลย แต่พอแปรรูปออกมาเป็นบริษัท JR ก็เลยต้องปรับปรุงการบริหาร ให้คล่องตัว เพิ่มบริการใหม่ หลายๆ อย่าง เพื่อดึงดูดคนให้มาใช้บริการรถไฟ (โดยพยายามไม่คิดค่าบริการเพิ่ม) จนในที่สุดก็สามารถทำกำไรสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งเงินภาษีของประชาชน นับว่าเป็นผลสำเร็จของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ส่วนกิจการไปรษณีย์นั้น ได้ข่าวว่ากำลังวางแผนกันอยู่ ก็น่าสนใจว่าจะเป็นยังไงต่อไปครับ


ยังมีศัพท์อื่นๆ ที่น่าสนใจอีกก็คือ จดหมาย จะเรียกว่า เทะงะมิ ( 手紙 ) ถ้าแปลตามตัวแล้วอาจจะได้ความหมายแปลกๆ หน่อยคือ 

         
           手紙  เทะงะมิ แปลว่าจดหมาย 

           เทะ แปลว่ามือ

            คะมิ แปลว่ากระดาษ 

                 มือกับกระดาษรวมกันแปลว่าจดหมาย สมัยเรียนภาษาญี่ปุ่นใหม่ๆ ผมเคยจำว่าจดหมายคือกระดาษที่ถูกส่งผ่านมือมา 

            葉書  ฮะงะคิ คือไปรษณียบัตร 

            ฮะ แปลว่าใบ หรือ ใบไม้

       書  คะคิ แปลว่าเขียน  

                    ใบที่มีอะไรเขียนอยู่ก็คือไปรษณียบัตรนั่นเอง 

ถึงแม้ปัจจุบันอีเมล์ และอินเตอร์เน็ต จะเข้ามามีแทนที่การส่งจดหมาย แต่ทุกวันนี้คนญี่ปุ่นบางส่วนก็ยังนิยมส่งจดหมายหรือไปรษณียบัตรกันอยู่ โดยให้เหตุผลว่าได้ความรู้สึกดีกว่าการใช้อีเมลเพราะได้เขียนด้วยลายมือของตัวเอง เหมือนกับได้สื่อสารระหว่างใจถึงใจ เรื่องของจิตใจนี้คงจะยากเกินกว่าจะทำเทคโนโลยีมาใช้แทนได้เนอะครับ ไม่นานมานี้ผมได้ดูรายการทางโทรทัศน์ที่พูดถึงแม่ชาวญี่ปุ่นที่ลูกชายย้ายเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยในโตเกียว ด้วยความเป็นห่วงลูกชายก็เลยส่งอาหารแห้ง ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ไปให้ทุกเดือน โดยไม่ลืมที่จะแนบไปรษณียบัตรจ่าหน้าถึงตัวเองไปด้วย เพื่อให้ลูกชายเขียนกลับมา แม้จะสั้นๆ เพราะอย่างน้อยก็จะได้เห็นลายมือของลูก 



 

ติดตามอ่านคอลัมน์ที่น่าสนใจอื่นๆได้ที่ http://www.jeduaction.com

มุ่งมั่น...สู่ความสำเร็จที่แตกต่าง กับ Jeducation.com