J-doradic.com เว็บ ดิกไทย – ญี่ปุ่น ดิกญี่ปุ่น – ไทย ที่ดีที่สุด

เลือกหมวดหมู่
ความหมาย


การอาบน้ำในประเทศญี่ปุ่น

ใน เวลาตอนค่ำหรือก่อนนอน คนญี่ปุ่นก็จะชอบอาบน้ำกัน ซึ่งที่รู้จักกันดีนะครับ ว่าจะแช่น้ำอุ่นในอ่างอาบน้ำ ชาวญี่ปุ่นโดยทั่วไปชอบการอาบน้ำกันเป็นพิเศษและการอาบน้ำเป็นสิ่งที่ขาดไม่ ได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเมื่อคนญี่ปุ่นไปเที่ยวหรือทำงานในต่างประเทศแล้ว สิ่งที่คนญี่ปุ่นมักจะคิดถึงมากที่สุด นอกจากอาหารญี่ปุ่น ก็คือ Ofuro (การอาบน้ำแบบญี่ปุ่น) นั่นเองนะครับ แม้ว่าเป็นคนญี่ปุ่นรุ่นใหม่ที่ไม่ค่อยสนใจวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น เช่น กินแต่อาหารฝรั่ง ใส่แต่เสื้อยืด แต่ก็ยังชอบอาบน้ำแบบญี่ปุ่นกันมากกว่าแบบฝรั่งนะครับ เพราะว่าสำหรับชาวญี่ปุ่น การอาบน้ำไม่ใช่เป็นแค่การล้างตัวให้สะอาด แต่ยังเป็นการผ่อนคลายความเครียดและความเหนื่อยของทั้งร่างกายและจิตใจ โดยแช่น้ำอุ่นนาน ๆ สำหรับครอบครัวคนญี่ปุ่น การอาบน้ำยังเป็นโอกาสที่สื่อความสัมพันธ์ที่อบอุ่นของครอบครัวโดยแช่น้ำ ด้วยกัน และคุยกันในห้องอาบน้ำนะครับ  

ลักษณะของห้องอาบน้ำแบบญี่ปุ่น

ห้องอาบน้ำแบบญี่ปุ่นโดยทั่วไปก็จะประกอบด้วยสองห้อง ซึ่งห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าและห้องอาบน้ำ ในห้องเปลี่ยนเสื้อผ้ามักจะมีอ่างล้างหน้า ซึ่งในตอนเช้า คนญี่ปุ่นก็จะล้างหน้าแปรงฟังอย่างเดียวและไม่อาบน้ำ บางคนก็ชอบอาบน้ำตอนเช้า(Asa-Buro) กันด้วยนะครับ
  ใน ห้องอาบน้ำจะมีอ่างอาบน้ำและที่ล้างตัวอยู่ข้าง ๆ อ่างอาบน้ำของญี่ปุ่นมีลักษณะคล้ายกับอ่างอาบน้ำแบบฝรั่ง ที่คุณก็คงเคยพบเห็นในโรงแรมต่างๆ แต่สำหรับอ่างอาบน้ำของญี่ปุ่นจะไม่กว้างหรือยาวเท่าของฝรั่ง และลึกกว่าเป็นสองเท่าด้วย ซึ่งผู้อาบน้ำจะไม่แช่น้ำแบบนอนแต่แช่ทั้งตัวได้แบบนั่ง อีกอย่างหนึ่งที่ต่างกับอ่างแบบฝรั่งก็คือ อ่างแบบญี่ปุ่นจะมีรูที่ถ่ายเทน้ำอุ่นที่ต่อกับเครื่องทำน้ำอุ่น เพราะคนญี่ปุ่นจะแช่ในน้ำอุ่นนานๆ และอากาศในฤดูหนาวก็หนาวมาก ซึ่งน้ำในอ่างอาบน้ำจะเย็นลงอย่างรวดเร็ว และต้องเผาไฟในเครื่องทำน้ำอุ่นเพื่อทำให้น้ำอุ่นเสมอนะครับ สำหรับที่ล้างตัวจะมีเก้าอี้อันเล็กเตี้ย ๆ วางอยู่ ซึ่งผู้อาบจะนั่งที่นั่นเมื่อล้างตัว นอกจากนี้ก็มีกะละมังเล็กๆ และ ที่ตักน้ำ มีกระจกอยู่ข้างหน้า ถ้าเป็นห้องอาบน้ำสมัยนี้ก็มักจะมีฝักบัวด้วยแต่ยังไม่ใช่ว่ามีทุกบ้านนะ ครับ

วิธีอาบน้ำแบบญี่ปุ่น

ไม่ ว่าในบ้านหรือที่โรงแรมแบบญี่ปุ่นที่มีห้องอาบน้ำใหญ่ วิธีการอาบน้ำแบบญี่ปุ่นก็เหมือนกันนะครับ คุณก็จะถอดเสื้อผ้าที่ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อน พอเข้าไปในห้องอาบน้ำ ก่อนจะเข้าไปแช่ในอ่าง คุณจำเป็นต้องล้างตัวให้สะอาดก่อน เพราะน้ำในอ่างอาบของญี่ปุ่นมีให้เพื่อแช่ร่างกายให้อุ่นเท่านั้น และห้ามใช้สบู่ล้างหรือถูตัวในอ่าง เพราะฉะนั้นน้ำในอ่างจะไม่เปลี่ยนตามผู้อาบและทุกคนจะต้องแช่น้ำเดียวกันนะ ครับ แต่ถ้าเป็นฤดูหนาวก็ไม่ต้องล้างตัวนานๆก็ได้ แค่เอาน้ำอุ่นราดร่างกายให้ทั่วดีๆและล้างเฉพาะส่วนที่ควรล้างดีๆเท่านั้นก็ พอนะครับ เพราะอากาศในฤดูหนาวที่ญี่ปุ่นจะหนาวสุด ๆ แบบร่างกายจะไม่มีเหงื่อเลยตลอดเวลา และถ้าล้างตัวนานๆก่อนการแช่ คงจะหนาวมากเกินไปจนไม่ไหวแน่นอนนะครับ เมื่อล้างตัวเสร็จแล้วก็จะเข้าไปแช่ในอ่าง แต่ในฤดูหนาว คุณมักจะรู้สึกร้อนมากเหมือนกับว่าโดนลวก แต่อันนี้เพราะว่าร่างกายของเราถูกแช่เย็นมาในอากาศหนาวข้างนอก และความจริงน้ำในอ่างก็ไม่ร้อนเท่าที่รู้สึกตอนแรกนะครับ คุณควรจะอดทนความร้อนไว้และค่อย ๆ เข้าไปแช่แต่ละนิดจะดีกว่านะครับ เดี๋ยวร่างกายก็จะค่อย ๆ ชินกับความร้อนของน้ำอุ่น ถ้าหากคุณเติมน้ำเย็นตามความรู้สึกตอนแรกแล้ว ตอนหลังคุณก็คงเริ่มรู้สึกว่าน้ำไม่อุ่นพอแน่นอน และทำให้เป็นหวัดได้เหมือนกันนะครับ


หลังจากแช่ในน้ำอุ่นพอสักครู่แล้ว ก็ออกมาล้างตัวครั้งจริงจังโดยใช้สบู่และถูตัวด้วยโฟมหรือผ้าเช็ดตัวบาง ๆ ชนิดหนึ่งสำหรับการถูตัว ที่เราเรียกว่า Tenugui ซึ่งเมื่อไปอาบน้ำที่ร้านอาบน้ำรวม(Sentou)หรือน้ำพุร้อน(Onsen) คนญี่ปุ่นก็จะต้องนำไปของตัวเองนะครับ (ที่โรงแรมก็จะมีให้ทุกคน) เมื่อล้างตัวสระผมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะเข้าไปแช่อีกเพราะร่างกายก็เย็นอีกแล้ว การแช่ครั้งที่ 2 นี่มักจะยาวนานหน่อย เพื่อให้ร่างกายหายเหนื่อยและให้มีความอุ่นในร่างกายทั้งตัวพอที่จะสู้กับความหนาวของอากาศข้างนอกได้นะครับ คนญี่ปุ่นบางคนชอบแช่นานๆเป็นชั่วโมง แต่ตามการแพทย์แล้วไม่ควรจะแช่นานขนาดนั้นนะครับ เดี๋ยวจะเป็นลม เมื่อคุณรู้สึกพอแล้วก็ออกได้เลย เมื่อคุณออกจากอ่างแล้ว ถ้าตามมารยาทญี่ปุ่น ก็ควรจะเช็ดตัวด้วยผ้า Tenugui ที่ได้ใช้ในการถูตัว ซึ่งบีบน้ำออกและเช็ดตัวคร่าวๆก่อน เพราะว่า ถ้าไม่เช็ดเลยแล้วออกมาในห้องเปลี่ยนเสื้อ พื้นห้องก็จะเปียกหมด และคนที่มาอาบน้ำที่หลังก็จะรู้สึกไม่สบายใจ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่เสียมารยาทหน่อยนะครับ อีกอย่างหนึ่งที่ผมเคยเห็นคนไทยบางคนทำที่บ้านคนญี่ปุ่นตามวิธีแบบไทย และไม่ค่อยเหมาะในวัฒนธรรมญี่ปุ่นก็คือ ไม่เอาเสื้อชุดใหม่ไปที่ห้องเปลี่ยนเสื้อ และออกมาจากห้องโดยมีแต่ผ้าเช็ดตัวพันที่ตัวเท่านั้นและค่อยใส่ชุดใหม่ที่ห้องของตัวเองนะครับ ก็โอเคถ้ามีแต่เพื่อนเพศเดียวกัน แต่คนญี่ปุ่นตามปกติไม่ค่อยจะทำนะครับ ถ้นเป็นโรงแรมแบบญี่ปุ่นก็จะมีชุด ผ้าฝ้าบางๆแบบ Kimono ที่เรียกว่า Yukata ให้ ซึ่งคำว่า Yukata ก็มีความหมายว่าชุดสำหรับการอาบน้ำนั่นเองนะครับ

การอาบน้ำรวมกันของญี่ปุ่น

ที่ ประเทศญี่ปุ่น นอกจากว่าอาบน้ำในบ้าน ยังมีสถานที่ที่อาบน้ำได้นอกบ้านหลายแห่ง ซึ่งตามปกติแล้ว การอาบน้ำนอกบ้านหมายถึงการอาบน้ำรวมกันนะครับ คนต่างชาติมักจะเข้าใจผิดกันว่า การอาบน้ำรวมคือการอาบน้ำรวมทั้งชายและหญิง แต่ความจริงแล้วไม่ใช่นะครับ ตามปกติการอาบน้ำรวมก็ต้องแบ่งแยกผู้ชายกับผู้หญิง ตอนนี้ห้องอาบน้ำแบบรวมทั้งชายและหญิงค่อนข้างหายาก มีเฉพาะที่น้ำพุร้อน(Onsen)บางแห่งเท่านั้นนะครับ อย่างไรการอาบน้ำรวมเป็นสิ่งที่คนต่างชาติมักจะรู้สึกทำตามลำบากหน่อย เท่าที่ผมเห็นมาในประสบการณ์ที่เข้าร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมต่าง ประเทศแล้ว คนฝรั่งจะทำได้ค่อนข้างสบาย แต่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีคนที่ไม่ค่อยยอมอาบน้ำรวมกันมากที่สุดนะครับ ผมก็พอเข้าใจว่าตามความรู้สึกของคนไทยแล้วเป็นสิ่งที่อายมากสุดๆแน่นอน แต่ถ้าคิดอีกแบบหนึ่งก็ไม่ต้องอายอะไรมาก เพราะในห้องอาบน้ำก็มีแต่คนเพศเดียวกันนะครับ อย่างน้อยผมก็แนะนำให้กล้าลองอาบน้ำรวมกัน เพราะ ไม่งั้นคุณก็จะพลาดประสบการณ์ที่แช่น้ำแร่ที่น้ำพุร้อนของญี่ปุ่นนะครับ

น้ำพุร้อน (Onsen) ในญี่ปุ่น

สถาน ที่อาบน้ำรวมกันขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นที่ทุกคนคงรู้จักกันดี ก็คือน้ำพุร้อน(Onsen)นะครับ ในประเทศญี่ปุ่นมีน้ำพุร้อนจำนวนมากกว่า 2,300 แห่งทั่วประเทศ และคนญี่ปุ่นก็ชอบไปแช่น้ำพุร้อนกันมาก เพราะน้ำพุร้อนในประเทศญี่ปุ่นส่วนมากเป็นน้ำแร่ที่เกิดมาจากน้ำใต้ดินที่ ผ่านส่วนความร้อนของหินแร่ต่างๆ ใกล้ภูเขาไฟ ซึ่งเป็นน้ำที่ดีต่อสุขภาพ อีกอย่างหนึ่งน้ำพุร้อนญี่ปุ่นมักจะอยู่ที่ภูเขาลึกๆ ซึ่งคนที่ไปแช่น้ำพุร้อนก็จะสัมผัสกับธรรมชาติทางภูเขาได้ดีเช่นเดียวกันนะ ครับ เพราะฉะนั้น Onsen เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งสำหรับชาวญี่ปุ่น และบริษัททัวร์ของญี่ปุ่นก็มีทัวร์ที่จะพาไปที่น้ำพุร้อนเป็นกิจการใหญ่นะ ครับ ตามปกติที่น้ำพุร้อนจะมีหมู่บ้านหรือเมืองเล็กๆที่ตั้งขึ้นมาสำหรับนักท่อง เที่ยวโดยเฉพาะ (Onsen-gai) ตั้งแต่สมัยโบราณ และมีโรงแรมหลายแห่งที่มีห้องอาบน้ำรวมขนาดใหญ่นะครับ ซึ่งคนที่มาพักที่โรงแรมแบบนี้ก็ตั้งใจมาพักเพื่อจะแช่น้ำแร่ที่ห้องอาบน้ำ ในโรงแรม แต่สำหรับคนที่อยากจะแช่น้ำอย่างเดียว โรงแรมบางแห่งก็มีบริการให้ใช้ห้องแช่น้ำอย่างเดียวโดยจ่ายแต่ค่าแช่น้ำเท่า นั้นและไม่ต้องเสียค่าพักที่โรงแรม หรือตามปกติในเมืองน้ำพุร้อนก็จะมีสถานที่อาบน้ำสาธารณะ(Koushuu Yokujou) ที่น้ำพุร้อนบางแห่งก็จะมีสระแช่น้ำแร่เล็กๆข้างนอกของอาคาร(Roten-buro) ซึ่งคนแช่น้ำก็สามารถชมวิวธรรมชาติรอบๆได้ด้วยนะครับ



สำหรับชนิดของแร่ในน้ำพุร้อนญี่ปุ่นก็มีหลากหลายชนิด สีของน้ำแร่ก็มีหลายสี เช่นสีขาว สีแดง สีฟ้า แล้วแต่ชนิดของแร่นะครับ แต่แร่ที่พบทั่วไปมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่นก็คือ กำมะถัน สีน้ำก็จะออกสีฟ้า และมีกลิ่นแรงหน่อย แต่ดีต่อสุขภาพร่างกาย การแช่ในน้ำแร่ยังช่วยรักษาโรคได้หลายอย่าง น้ำแร่บางอย่าง จะสามารถดื่มเป็นยาได้ด้วย ซึ่งน้ำพุร้อนบางแห่งจะมีสถานที่รักษาโรคโดยแช่น้ำแร่(Toujiba) หรือมีโรงแรมสำหรับคนที่ต้องการรักษาโรคโดยแช่น้ำแร่ ซึ่งคนแบบนี้จะพักอยู่ที่โรงแรมนานๆเป็นเดือนนะครับ ชาวญี่ปุ่นรักการแช่น้ำแร่ที่ Onsen กันมากๆ ซึ่งคนญี่ปุ่นหลายคนต้องการแช่น้ำแร่ที่ห้องอาบน้ำที่บ้านของตัวเองด้วย ซึ่งในตลาด คุณก็หาซื้อผงน้ำแร่สำหรับอ่างอาบน้ำที่บ้าน(Nyuu-yoku zai)ได้ทั่วประเทศ หรืคอนโดมิเนี่ยม บางแห่งจะมีระบบขุดน้ำแร่จากใต้ดินลึกๆและส่งไปให้ทุกบ้านเพื่อการแช่ด้วยนะครับ

ร้านอาบน้ำรวม (Sentou)

สถานที่อาบน้ำรวมกันอีกอย่างหนึ่ง ที่คุณคงเห็นบ่อยในเมืองใหญ่ ก็คือ ร้านอาบน้ำรวม(Sentou) นะครับ ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีอ่างอาบน้ำรวมขนาดใหญ่ และคนที่ไม่มีห้องอาบน้ำที่บ้าน (สมัยนี้ไม่ค่อยจะมีแล้วแต่สมัยก่อนไม่ใช่ว่าทุกบ้านมีห้องอาบน้ำส่วนตัวนะครับ) หรือคนที่ชอบแช่น้ำที่อ่างอาบน้ำใหญ่ก็จะไปที่นั่นเพื่อจะอาบน้ำอย่างเดียวนะครับ Sentou ยังเป็นสถานที่ที่คนในชุมชนพบกันทักทายกันและคุยกันสนุกสนานในขณะอาบน้ำ ร้าน Sentou มีมานานตั้งแต่สมัย Edo ประมาณ 250 ปีที่แล้ว และเป็นสถานที่คนในชุมชนรวมตัวกันอาบน้ำพักผ่อนกันนะครับ สมัยนี้บ้านคนญี่ปุ่นเกือบทุกบ้านมีห้องอาบน้ำส่วนตัว และร้าน Sentou ก็มีน้อยลงไปเรื่อยๆ แต่ก็ยังมีร้านแบบใหม่สร้างขึ้นมา ที่มีอ่างอาบน้ำพิเศษอย่างเช่น อ่างที่มีฟองอากาศ อ่างที่มีสมุนไพร ฯลฯ นะครับ  

สำหรับการอาบน้ำในประเทศญี่ปุ่นจะมีเรื่องที่น่าสนใจอีกมากมาย แต่ผมขอจบแค่นี้ก่อนนะครับ เดี๋ยวจะเขียนไม่หมดแน่ๆนะครับ
02 / 05 / 2002

ภาพประกอบจาก

ภาพถ่าย Ofuro : หนังสือภาพญี่ปุ่น ( View of Japan ) สำนักข่าวสารญี่ปุ่น
ภาพการ์ตูน Ofuro : http://www.tjf.or.jp/eng/ge/ge04ofuro.htm
ภาพ Sentou : http://ushiki.site.ne.jp/sentou/asakusa56.html